เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ทดลองขับ ทดลองขับ สินค้าตามการใช้งาน สินค้าตามการใช้งาน ผู้แทนจำหน่าย ผู้แทนจำหน่าย คำนวนสินเชื่อ คำนวนสินเชื่อ
กลับ

สาระความรู้

ปลูกข้าวนาดำ ตอน การวิเคราะห์ และประเมินการเจริญเติบโตของข้าว

ปลูกข้าวนาดำ ตอน การวิเคราะห์ และประเมินการเจริญเติบโตของข้าว

ปลูกข้าวนาดำ ตอน การวิเคราะห์ และประเมินการเจริญเติบโตของข้าว

สัญญาต้องเป็นสัญญา สัญญาว่ามาต้องมา

                  น้องคูโบแมนขอมาทำตามสัญญาที่ให้กับพี่ๆเกษตรกรครั้งที่แล้ว วันนี้จะขอนำการวิเคราะห์และประเมินการเจริญเติบโตของข้าวมาฝากพี่ๆทุกท่านกันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

การตรวจเช็คสภาพของต้นกล้า

                  ในระหว่างการปักดำด้วยรถดำนา เราควรตรวจเช็กสภาพของต้นกล้าในแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยสังเกตปัญหาที่อาจจะพบระหว่างปักดำ ได้แก่ กล้าหลุดลอย กล้าลงไม่ต่อเนื่อง กล้าโค้งงอ กล้าจมน้ำ หรือสกีดันเลนไปปะทะกับต้นกล้า ซึ่งหากพี่ๆพบจุดเหล่านี้ ก็ควรทำสัญลักษณ์ไว้ เพื่อกลับมาแก้ไขภายหลังครับ

ระยะแตกกอของข้าว

                  เมื่อต้นกล้ามีการเจริญเติบโจที่สมบูรณ์แล้ว ต้นกล้าจะเริ่มแตกหน่อใหม่ขึ้นมา เรียกว่า การแตกกอของข้าว มักจะเกิดในช่วง 30 – 50 วันหลังข้าวงอก ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นข้าวต้องการธาตุอาหาร เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนการแตกกอ ดังนั้นช่วงนี้เราจึงควรใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 กันครับ

ระยะตั้งท้อง

                  เมื่อสิ้นสุดระยะแตกกอ ต้นข้าวจะเริ่มสร้างรวงอ่อน โดยพี่ๆสามารถสังเกตจากบริเวณโคนต้นของต้นข้าวจะอ้วนพองขึ้น เรียกว่าข้าวตั้งท้อง ซึ่งจะอยู่ในช่วง 60 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ต้นข้าวต้องการธาตุอาหาร เพื่อใช้ในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ช่วงนี้จึงจำเป็นสำหรับการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ครับ

 

และนอกจากตรวจเช็กการเจริญเติบโตของต้นข้าวกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญในการเจริญเติบโตของข้าวก็คือการใส่ปุ๋ยในแปลงนานั่นเอง

ช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ย

ครั้งที่ 1 : 7 – 10 วัน หลังปักดำ

                ควรใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มจำนวนการแตกกอของข้าว

ครั้งที่ 2 : 18 – 24 วันก่อนออกรวง

                ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้ง เพื่อเพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวง

ครั้งที่ 3 : 10 – 12 วันก่อนออกรวง

                ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้งเพื่อเพิ่มปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต

ปริมาณในการใส่ปุ๋ย

  1. ความต้องการปุ๋ยของข้าวไม่ไวแสง

ปุ๋ยความมีส่วนประกอบของไนโตรเจน (N) 12 กิโลกรัมต่อไร่

ฟอสฟอรัส (P2O6) 6 กิโลกรัมต่อไร่

และโพแทสเซียม (K2O) 6 กิโลกรัมต่อไร่

  1. ต้นทุนปุ๋ยในดิน ควรใส่ตามค่าวิเคราะห์ดิน

 

                  รู้แบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมหันกลับมาดูแปลงนาของเรากันนะครับ ว่าได้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้แล้วหรือยัง เพื่อผลผลิตที่ดีของพวกเราทุกคนครับ และหากใครต้องการศึกษาความรู้ดีๆแบบนี้เพิ่มเติม ก็อย่าลืมติดตามสิ่งดีๆ ที่น้องคูโบแมนจะหามาให้ในครั้งต่อไปนะครับ