สาระความรู้
การปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดิน ขั้นตอนการเกษตร
ที่ขาดไม่ได้
การปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดิน ขั้นตอนการเกษตร
ที่ขาดไม่ได้
การปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดิน กระบวนการสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทางเกษตร นับว่าเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้สำหรับการปลูกพืช ซึ่งการการปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดินนั้นจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อให้ได้หน้าดินที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ที่สุด โดยจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง KUBOTA (Agri) Solutions ได้สรุปมาให้อย่างครบถ้วนในบทความนี้แล้ว
การปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน คืออะไร
การปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน (Land Leveling) คือการปรับระดับหน้าดินหรือปรับพื้นที่ที่มีลักษณะไม่เสมอกัน เช่นมีบางจุดสูง บางจุดต่ำ ให้ราบเรียบสม่ำเสมอกันตามระดับความลาดเทที่ต้องการ เพื่อให้การทำงานของเครื่องมือและเครื่องจักรทางการเกษตรราบรื่นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
รับชมคลิปการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน คลิกที่นี่
ความสำคัญของการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน
การปรับพื้นที่ หรือการปรับหน้าดิน ทำให้การทำการเกษตรเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น เพราะจะทำให้การให้น้ำทางผิวดินและการทำงานของเครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำ เพราะการปรับพื้นที่และการปรับหน้าดิน จะช่วยให้น้ำกระจายอย่างสม่ำเสมอ พอดีกับที่พืชต้องการ ไม่มีน้ำขัง เพราะน้ำขัง
จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชเป็นอย่างดี โดยควรรักษาระดับน้ำในแปลงไว้ที่ความลึกประมาณ 10 – 15 ซม. ทั่วทั้งแปลง สำหรับการปลูกข้าวแบบนาดำ
- ช่วยให้รถเพื่อการเกษตร เช่นแทรกเตอร์ ทำงานได้สะดวก เพราะการปรับพื้นที่และการปรับหน้าดินช่วยให้เครื่องจักรเข้าทำงานในไร่ได้ดี มีคุณภาพ เพราะสามารถทำความเร็วได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ราบเรียบ ไม่มีอุปสรรคในเรื่องของความขรุขระ และส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชมีประสิทธิภาพเช่นกัน
- ช่วยให้ใช้งานเทคโนโลยีการเกษตรได้ดี เช่นการใช้ GPS เพื่อควบคุมพวงมาลัยแทนคนขับ ในการกำหนดแนวร่องปลูกเพราะวิธีนี้จะช่วยลดการบดดันหน้าดิน
โดยการใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อนำร่องการปลูกจะทำไม่ได้เลยหากพื้นที่ไม่เสมอกัน เพราะการควบคุมให้รถวิ่งตรง ๆ โดยใช้ GPS จะไม่สามารถทำบนพื้นที่ที่ไม่เรียบ
ได้เลย
- ช่วยลดวัชพืชและทุ่นเวลาการทำงาน เพราะการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน จะทำให้ไม่มีน้ำขัง ซึ่งน้ำขังจะส่งผลให้วัชพืชเติบโตและทำให้จัดการยาก อีกทั้ง
เมื่อแปลงนาถูกปรับระดับให้สม่ำเสมอดีแล้ว จะช่วยลดเวลาการทำงานลงได้ เพราะน้ำจะไหลเข้าแปลงในอัตราที่เร็วขึ้น และซึมลงดินและไหลสู่ท้ายแปลง
ในระยะเวลาที่สั้นลง
ขั้นตอนการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน
ในการปรับพื้นที่และการปรับหน้าดินนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสมอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ดินที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตของพืชชนิดต่าง ๆ มากที่สุด โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ไถพรวนดิน ย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง
การไถพรวนดินเพื่อให้ดินมีขนาดเล็กลงนั้น คือการปรับหน้าดินที่ช่วยให้ดินร่วนซุย ถ่ายเทอากาศได้ดี ทำให้รากสามารถดูดซึมน้ำและธาตุอาหารในดินได้ง่าย
อีกทั้งยังช่วยให้ผิวดินกักเก็บน้ำได้ดีขึ้น และรักษาความชื้นในดินให้คงอยู่ได้อย่างยาวนาน
2. โรยปูนขาวปรับสภาพดินที่มีความเป็นกรดสูง
เพราะหากสภาพดินนั้นมีความเป็นกรดหรือเป็นด่างมากเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถปลูกพืชได้ ดังนั้นควรใช้ปูนขาวโรยก่อนทำการปรับหน้าดิน เพราะปูนขาว
มีคุณสมบัติในการปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้มีค่า pH ที่เป็นกลางได้ ทำให้ดินมีความสมบูรณ์ขึ้น ที่สำคัญปูนขาวราคาไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย จึงนิยมใช้กัน
ในหมู่เกษตรกรอย่างมากและทำให้สามารถปลูกพืชได้อย่างไร้ปัญหา
3. คลุมดินด้วยวัสดุต่าง ๆ
ทำการคลุมดินโดยใช้เศษซากอินทรีย์วัตถุก่อนทำการปรับหน้าดิน อย่างเช่น มูลสัตว์ เศษใบไม้ ฟางข้าว แกลบ ชานอ้อย ซากพืช ที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนจนพืช
ไม่เจริญเติบโต และช่วยรักษาความชื้นภายในดิน ป้องกันการกัดเซาะล้างของผิวดินจากน้ำและลม ทำให้อุณภูมิของผิวดินไม่สูงเกินไปเพราะพืชจะเจริญเติบโตได้ดี
เมื่อมีความชื้นในดินที่เหมาะสม ช่วยบำรุงดิน และควบคุมวัชพืชไม่ให้งอกขึ้นมารบกวนได้
4. รดน้ำหมักชีวภาพ
ใช้น้ำหมักฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำเพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซุย เพื่อให้การปรับพื้นที่และการปรับหน้าดินราบรื้นขึ้น เพราะดินจะอุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดินและเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์และท่อนพันธุ์เพื่อเร่ง
การเกิดราก ช่วยในการแตกตาดอก และยังต้านแมลงศัตรูพืชได้ ส่งผลให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพสูงสุด
5. คลุมฟางข้าวทับหน้าดิน
การใช้ฟางข้าวคลุมทับหน้าดิน ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับพื้นที่ โดยฟางข้าวคือส่วนของต้นข้าวที่เหลือหลังจากการเก็บเกี่ยวและนำเมล็ดข้าวออกแล้ว
และจะมีส่วนประกอบของตอซัง หรือกอข้าวรวมอยู่ในฟางข้าวด้วย โดยก่อนใช้ฟางคลุมดินควรนำไปตากแดดให้แห้งก่อนทุกครั้งเพื่อไม่ให้ชื้นและเกิดการหมักหมม
เพราะจะเป็นอันตรายต่อพืชได้โดยตรง
เครื่องจักรกลการเกษตรที่ช่วยในการปรับพื้นที่และการปรับหน้าดิน
แนะนำใบมีดดันดิน อุปกรณ์ที่จะทำให้งานปรับพื้นที่ การปรับหน้าดินของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยทุ่นแรงและเวลา ซึ่งการจะใช้ใบมีดดันดินเหล่านี้ จำเป็นต้องมีรถแทรกเตอร์เพื่อต่อพ่วงเข้าด้วยกัน
ที่ KUBOTA เรามีใบมีดดันดินให้คุณได้เลือกตามความเหมาะสมมากกว่า 15 รายการ ที่ได้รับการออกแบบพิเศษให้ทำงานร่วมกันได้กับเครื่องจักรกลการเกษตรหรือรถแทรกเตอร์ของ KUBOTA ได้อย่างไร้ข้อจำกัด
โดย KUBOTA ขอแนะนำรุ่นยอดฮิตหลัก ๆ 3 รุ่นนี้ ดังนี้
ใบมีดดันดินรุ่น FD186F
ใบมีดดันดินรุ่น FD240NT
ใบมีดดันดินรุ่น FD220L
หากคุณสนใจอุปกรณ์สำหรับการปรับพื้นที่ ปรับหน้าดิน สามารถดูทั้งหมดได้ที่นี่
สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน
การปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากเมื่อจะเริ่มทำการเกษตร เพราะมีผลกับการเจริญเติบโตของพืชผักต่าง ๆ ในระยะยาว
และต้องมีการทำตามขั้นตอนที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เป็นที่น่าพึงพอใจและได้คุณภาพสูงสุด โดยเกษตรกรทุกคนจะสามารถมั่นใจ
และวางใจได้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพอย่างใบมีดดันดินตราช้างสำหรับต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์จาก KUBOTA
สามารถดูใบมีดดันดินทั้งหมดจาก KUBOTA ได้ที่นี่ หรือสอบถามเพิ่มเติม
- KUBOTA CONNECT ติดต่อกับเราที่เบอร์ 02-029-1747
- Facebook Fanpage: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
- ดูสินค้าทั้งหมดผ่านเว็บไซต์: SiamKubota
- อัปเดตสิทธิพิเศษ หรือติดต่อผ่านทาง LINE OA: @siamkubota
- รับชมวีดีโอการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่: SIAMKUBOTA