Sign In Sign In Test drive Test drive Products according to use Products according to use Dealer Dealer Loan Calculator Loan Calculator
Back

Article

ปลูกข้าวนาดำ ตอน การวิเคราะห์ และประเมินการเจริญเติบโตของข้าว

ปลูกข้าวนาดำ ตอน การวิเคราะห์ และประเมินการเจริญเติบโตของข้าว

ปลูกข้าวนาดำ ตอน การวิเคราะห์ และประเมินการเจริญเติบโตของข้าว

สัญญาต้องเป็นสัญญา สัญญาว่ามาต้องมา

                  น้องคูโบแมนขอมาทำตามสัญญาที่ให้กับพี่ๆเกษตรกรครั้งที่แล้ว วันนี้จะขอนำการวิเคราะห์และประเมินการเจริญเติบโตของข้าวมาฝากพี่ๆทุกท่านกันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

การตรวจเช็คสภาพของต้นกล้า

                  ในระหว่างการปักดำด้วยรถดำนา เราควรตรวจเช็กสภาพของต้นกล้าในแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยสังเกตปัญหาที่อาจจะพบระหว่างปักดำ ได้แก่ กล้าหลุดลอย กล้าลงไม่ต่อเนื่อง กล้าโค้งงอ กล้าจมน้ำ หรือสกีดันเลนไปปะทะกับต้นกล้า ซึ่งหากพี่ๆพบจุดเหล่านี้ ก็ควรทำสัญลักษณ์ไว้ เพื่อกลับมาแก้ไขภายหลังครับ

ระยะแตกกอของข้าว

                  เมื่อต้นกล้ามีการเจริญเติบโจที่สมบูรณ์แล้ว ต้นกล้าจะเริ่มแตกหน่อใหม่ขึ้นมา เรียกว่า การแตกกอของข้าว มักจะเกิดในช่วง 30 – 50 วันหลังข้าวงอก ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นข้าวต้องการธาตุอาหาร เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนการแตกกอ ดังนั้นช่วงนี้เราจึงควรใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 กันครับ

ระยะตั้งท้อง

                  เมื่อสิ้นสุดระยะแตกกอ ต้นข้าวจะเริ่มสร้างรวงอ่อน โดยพี่ๆสามารถสังเกตจากบริเวณโคนต้นของต้นข้าวจะอ้วนพองขึ้น เรียกว่าข้าวตั้งท้อง ซึ่งจะอยู่ในช่วง 60 วันก่อนการเก็บเกี่ยว ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ต้นข้าวต้องการธาตุอาหาร เพื่อใช้ในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ช่วงนี้จึงจำเป็นสำหรับการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ครับ

 

และนอกจากตรวจเช็กการเจริญเติบโตของต้นข้าวกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญในการเจริญเติบโตของข้าวก็คือการใส่ปุ๋ยในแปลงนานั่นเอง

ช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ย

ครั้งที่ 1 : 7 – 10 วัน หลังปักดำ

                ควรใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มจำนวนการแตกกอของข้าว

ครั้งที่ 2 : 18 – 24 วันก่อนออกรวง

                ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้ง เพื่อเพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวง

ครั้งที่ 3 : 10 – 12 วันก่อนออกรวง

                ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้งเพื่อเพิ่มปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต

ปริมาณในการใส่ปุ๋ย

  1. ความต้องการปุ๋ยของข้าวไม่ไวแสง

ปุ๋ยความมีส่วนประกอบของไนโตรเจน (N) 12 กิโลกรัมต่อไร่

ฟอสฟอรัส (P2O6) 6 กิโลกรัมต่อไร่

และโพแทสเซียม (K2O) 6 กิโลกรัมต่อไร่

  1. ต้นทุนปุ๋ยในดิน ควรใส่ตามค่าวิเคราะห์ดิน

 

                  รู้แบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมหันกลับมาดูแปลงนาของเรากันนะครับ ว่าได้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้แล้วหรือยัง เพื่อผลผลิตที่ดีของพวกเราทุกคนครับ และหากใครต้องการศึกษาความรู้ดีๆแบบนี้เพิ่มเติม ก็อย่าลืมติดตามสิ่งดีๆ ที่น้องคูโบแมนจะหามาให้ในครั้งต่อไปนะครับ